ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เยี่ยมชมการดำเนินงาน T-ECOSYS

          ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ปธม. พร้อมด้วย คุณเชิดชัย บุญชูช่วย รธม. คุณชาญ กุลภัทรนิรันดร์ ผธม. และผู้บริหารในสายงานกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน ให้เกียรติเยี่ยมชมการดำเนินงานและพบพนักงาน T-ECOSYS โดยมี คุณพิชัยรัตน์ จิรานันรัตน์ กรรมการ บริษัท ที-อีโคซิส จำกัด ให้การต้อนรับเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2565 ที่ผ่านมา   ในโอกาสนี้ ปธม. และคณะผู้บริหารได้ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา Industrial Digital Platform (IDP) รวมถึงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ T-ECOSYS เติบโตได้อย่างยั่งยืน สามารถสร้างระบบนิเวศควบคู่ไปกับการช่วยขับเคลื่อนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ที่จะก่อให้เกิดความเชื่อมโยงและนำไปสู่การพัฒนาอย่างครบวงจร รวมถึงสามารถสร้างพลังร่วม (Synergy) ทั้งในและนอกกลุ่ม ปตท. เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน นำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย Industrial Transformation ได้อย่างแท้จริง

T-ECOSYS ร่วมกับ พาร์ตเนอร์ในกลุ่ม ปตท. เสนอนวัตกรรมการเงินเพื่อภาคอุตสาหกรรม นำ 2 ทีมเข้ารอบสุดท้าย CBDC Hackathon

วันที่ 26 กันยายน 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศผล 10 ทีมสุดท้าย ในการแข่งขัน CBDC Hackathon เพื่อนำเสนอแนวคิดการประยุกต์ใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency – CBDC) ในการต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินและธุรกิจ รวมถึงแก้ไขปัญหา หรือเพิ่มโอกาสใหม่ที่เป็นประโยชน์กับภาคเศรษฐกิจ และสามารถยกระดับการแข่งขันของประเทศ   จากผู้เข้าร่วมแข่งขันกว่า 100 ทีม T-ECOSYS ร่วมกับพาร์ตเนอร์ เสนอ 2 นวัตกรรมทางการเงินที่จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่   ทีม Smart Deep Tier T-ECOSYS พัฒนาร่วมกับ ฝ่ายกลยุทธ์จัดหาและบริหารสำนักงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด   ทีม TE x TKX…

มาแล้ว! T-ECOSYS เข้ารอบ 2 ใน 10 ทีม CBDC Hackathon คัดจาก 102 ทีมทั่วประเทศ

  เผยแพร่ครั้งแรก สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย – 26 ก.ย. 65 10:29 น. แบงก์ชาติประกาศรายชื่อ 10 ทีมที่ผ่านการคัดเลือก CBDC Hackathon จากทั้งหมดที่สมัครเข้ามา 102 ทีม  โดยรางวัลที่ 1 จะได้รับเงินสดมูลค่า 100,000 บาท   โครงการ CBDC Hackathon เป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบระดับนวัตกรรม (Innovation track) ด้านความสามารถในการเขียนโปรแกรม (Programmability) ซึ่งจะเอื้อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมต่อยอดบน Retail CBDC ทำให้เกิดบริการทางการเงินใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ ที่หลากหลาย และช่วยให้ ธปท. นำมาปรับปรุงการออกแบบ CBDC ที่เหมาะสมกับบริบทของไทยในอนาคต   *ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ธปท.จะทดสอบใช้ “บาทดิจิทัล” ปลายปี”65 ทดลอง 1 หมื่นคน ร่วมเอกชน 3 ราย…

ปตท. ตั้ง “ที-อีโคซิส” รุกดิจิทัลแพลตฟอร์มอุตสาหกรรม ต้นปี 2565

เผยแพร่ครั้งแรก : ผู้จัดการออนไลน์ https://mgronline.com/business/detail/9640000071264 วันที่ 21 กรกฎคม 2564 “ที-อีโคซิส” ลุยธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มด้านอุตสาหกรรม (IDP) เปิดทางหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมทุน เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาหวังให้เป็นแพลตฟอร์มกลาง คาดเปิดตัวอย่างเป็นทางการต้นปี 65   นายพิชัยรัตน์ จิรานันรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท พีทีที เอนเนอร์ยี่ โซลูชั่นส์ จำกัด เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยแต่ละปีมีการนำเข้าเครื่องจักรราว 4 แสนล้านบาท เป็นหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 4 หมื่นล้านบาท ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้ตั้งคณะกรรมการพัฒนาแพลตฟอร์มปฏิรูปอุตสาหกรรม หรือ IDP (Industrial Digital Platform) โดย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมพัฒนาทั้ง Algorithm โปรแกรม เชื่อมโยงอุปสงค์และอุปทาน   “แพลตฟอร์มจะช่วยประมวลผลการลงทุนที่จะใช้หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติมาช่วยในโรงงาน…

ปตท. ร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มปฏิรูปอุตสาหกรรม

เผยแพร่ครั้งแรก : สำนักข่าวไทย https://tna.mcot.net/business-736289 วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 กรุงเทพฯ 10 ก.ค.- ปตท.จัดตั้งบริษัท ที-อีโคซิส (T-ECOSYS) พร้อมเปิดทางหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมทุน ซึ่งจะช่วยพัฒนากลไก เชื่อมโยงผู้ให้บริการกับผู้มีความต้องการใช้กระตุ้นให้เกิดการใช้วิทยาการหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติภายในประเทศ   ที่ผ่านมาเราเห็นแพลตฟอร์มการค้า ทำให้เกิดพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มากมาย แต่ต่อไปนี้เราจะเห็นแพลตฟอร์ม ส่งเสริมการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในโรงงาน สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ ที่ปตท.ร่วมมือดำเนินการสร้างสรรค์ Eco   อุตสาหกรรมไทยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 34 ของจีดีพี ก่อนโควิด-19 แต่ละปีนำเข้าเครื่องจักร 400,000 ล้านบาท เป็นหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 40,000 ล้าน  ระบบนี้จะยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน จึงเป็นที่มาที่รัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญ ตั้งคณะกรรมการพัฒนาแพลตฟอร์มปฏิรูปอุตสาหกรรมหรือ IDP โดย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมพัฒนาทั้ง Algorithm โปรแกรมเชื่อมโยงอุปสงค์และอุปทาน   แพลตฟอร์มจะช่วยประมวลผลการลงทุนที่จะใช้หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติมาช่วยในโรงงาน วิเคราะห์ความคุ้มค่า, การจับคู่เลือกผู้ให้บริการที่เหมาะสม รวมถึงผลิตภัณฑ์สินเชื่อ…

ปตท. ตั้งบริษัท T-ECOSYS

เผยแพร่ครั้งแรก : Thainews Online www.thainews-online.com/th/news/107348-ปตท.ตั้งบริษัท-t-ecosys วันที่ 21 พฤษภาคม 2564 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ปตท. ในการประชุมเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ได้มีมติอนุมัติการจัดตั้ง บริษัท บริษัท ที-อีโคซิส จำกัด (T-ECOSYS) โดยให้ บริษัท สยาม แมนเนจเม้นท์ จำกัด (บริษัทย่อยที่ ปตท. ถือหุ้นทั้งหมด) ถือหุ้น 100% ด้วยทุนจดทะเบียน 350 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มด้านอุตสาหกรรมภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ปตท. กระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สถาบันการเงิน เป็นต้น   โดยเป็นการพัฒนากลไกและสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่าน Industrial Digital Platform…

ปตท. จับมือ กนอ. พัฒนาธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมไทย

เผยแพร่ครั้งแรก : ผู้จัดการออนไลน์ https://mgronline.com/business/detail/9630000131168 วันที่ 24 ธันวาคม 2563 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ที่ 3 จากขวา) นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ที่ 3 จากซ้าย) และ นายพิชัยรัตน์ จิรานันรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีทีที เอนเนอร์ยี่ โซลูชั่นส์ จำกัด (ขวา) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาแนวทางการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ (JV Company) เพื่อดำเนินการธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มร่วมกัน ระหว่าง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ บริษัท พีทีที เอนเนอร์ยี่ โซลูชั่นส์ จำกัด โดยมี นายวิทวัส สวัสดิ์-ชูโต ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)…

กนอ.จับมือ ปตท. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาธุรกิจการให้บริการดิจิทัล พร้อมหนุนผู้ประกอบการใช้ระบบ หุ่นยนต์-อัตโนมัติ

เผยแพร่ครั้งแรก การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผวก.กนอ. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ นายวิทวัส สวัสดิ์-ชูโต ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน เพื่อร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มการปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industrial Transformation Platform : ITP) และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติพร้อมขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมุ่งยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการให้ก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 รวมทั้งบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย การออกแบบและปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดของเสีย การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และการใช้ระบบสารสนเทศในการบริการจัดการการผลิต เป็นต้น ในแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งผู้ประกอบการ ภาครัฐ  สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการออกแบบระบบ (System…